Saturday, June 23, 2012

Le 14 juillet 1789 วันชาติฝรั่งเศส

ฟร็องซัว ออล็องด์ พรรคสังคมนิยม (PS) 2012 - ปัจจุบัน นีกอลา ซาร์กอซี UMP 2007 - 2012 ฌัก ชีรัก RPR - UMP 1995 - 2007 ฟร็องซัว มีแตร็อง พรรคสังคมนิยม (PS) 1981 - 1995 วาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง FNRI - UDF 1974 - 1981 วันชาติฝรั่งเศส ย้อนไปเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 กองทัพทหาร และประชาชนได้พร้อมใจกันบุกคุกบาสติลย์ (Bastilles) เพื่อปลดปล่อย นักโทษ การเมือง ให้เป็นอิสระ อันคุกบาสติลย์นี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของการบีบบังคับและความอยุติธรรม ซึ่งเกิดจากการปกครอง โดยกษัตริย์ ที่ไร้ ทศพิธราชธรรม จึงประกาศวันที่ได้รับการปลดปล่อยนี้ให้เป็น..วันชาติของฝรั่งเศส (La Fête Nationale) เมื่อหลายร้อยปีก่อน ประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่ง ราชวงศ์บูรบอง (Bourbon)บ้านเมืองอยู่ในระยะของสงครามอังกฤษ เพื่อแย่งชิงอาณานิคม ทำให้การเงินการคลังของประเทศล้มละลาย ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างอัตคัดขาดแคลน แต่ในทางกลับกัน ราชสำนักกลับมีความเป็นอยู่อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ชนชั้นขุนนางได้รับการยกเว้น ภาษี ส่วนประชาชน ที่มีความยากจนอยู่แล้วต้องถูกทางการรีดภาษีอย่างหนัก ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมาก ในตอนนั้น ชนชั้นกลางมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องจากชนกลุ่มนี้มีการศึกษาดี ร่ำรวย แต่ไม่มี สิทธิในทาง การเมือง การปกครอง เทียบเท่าชนชั้นพระ และชนชั้นขุนนาง จึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเก่า และได้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจเอาไว้ โดยเข้าร่วม การปฏิวัติในอเมริกา ซึ่งมีสาระสำคัญในทางทฤษฎีว่าด้วยสิทธิิ ตามธรรมชาติิของมนุษย์ และสองนักปราชญ์แห่งยุคคือ วอลแตร์ กับ มองเตสกิเออ นำทฤษฎีดังกล่าวมาสอนประชาชน ในขณะเดียวกัน มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์ (Marquis de la Fayette) ซึ่งทำสงคราม ช่วยเหลือ ชาวอาณานิคม ในอเมริกาต่อต้านอังกฤษจนได้ชัยชนะ ก็นำความคิดนี้มาเผยแพร่ จึงทำให้ ประชาชนชาวฝรั่งเศส ดิ้นรนเรียกร้อง ให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพยิ่งขึ้น เดือน มิถุนายน ค.ศ. 1789 ประชาชนซึ่งมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ได้บุกเข้าปล้นสะดมบ้านของพวกขุนนาง กรุงปารีสมีแต่่ ความวุ่นวาย ชนชั้นกลางได้รวมตัวกันก่อตั้งกองทหารรักษาการณ์แห่งชาติเข้าร่วม กับประชาชนทำลายคุกบาสติลย์ ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการปลดแอกอำนาจการปกครองโดยกษัตริย์ นับเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ยิ่ง และสำคัญของโลก ในปี ค.ศ. 1821 พระ เจ้าหลุยส์ที่ 18 กลับมาขึ้นครองราชย์อีกครั้ง แต่พระอนุชาคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงพยายาม ฟื้นฟูระบบเก่าขึ้นมาอีก จึงมีการปฏิวัติขึ้นอีก พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปซึ่งดำรงตำแหน่งกษัตริย์อยู่ ได้ถูกเนรเทศออกนอก ประเทศ และต่อมาก็ได้มีการสถาปนา สาธารณรัฐขึ้น เป็นครั้งที่ 2 โดยมีหลุยส์นโปเลียนทำการรัฐประหารตั้งตัวเองขึ้น เป็นจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทำให้ชาติฝรั่งเศสมีความเข้มแข็ง มั่นคงขึ้น สภาพทุกอย่าง ในประเทศดีขึ้น และมีการขยาย อาณานิคมไปยังประเทศต่างๆ ในปี ค.ศ. 1860 พระเจ้าหลุยส์นโปเลียน สถาปนาจักรพรรดิฝรั่งเศสในเม็กซิโกแต่ไม่สำเร็จ เพราะ ถูกอเมริกา ขัดขวางไว้ และยังต้องทำ สงคราม กับปรัสเซียอีก ฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายแพ้อีกครั้งและต้องเสียดินแดนในแคว้นอัลซาสให้แก่ ปรัสเซีย อีกด้วย ซึ่งทำให้พระองค์ต้องสละราชบัลลังก์ ใน ปี ค.ศ.1875 มีการสถาปนาฝรั่งเศสเป็นครั้งที่ 3 ยุคของนโปเลียนสิ้นสุดลง ทำให้ประเทศฝรั่งเศสอ่อนแอ เป็นอย่างมาก ต้องเสียดินแดน ให้ผู้รุกราน ประจวบกับเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศส ยิ่งบอบช้ำ ขึ้นไปอีก ภายหลัง ได้มี ีการเซ็นสัญญาสงบศึกที่ Vinchy แล้วฝรั่งเศสก็ประกาศตัวเป็นอิสรภาพ โดยความช่วยเหลือ จากฝ่ายพันธมิตรต่างๆ ในเดือนกันยายนปี 1944 นายพลชาลส์เดอโกล์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล ในปี ค.ศ.1946 ซึ่งเป็นยุคของสาธารณรัฐที่ 4

Sunday, June 17, 2012

การพูดรายงานหน้าห้อง

การพูดรายงานหน้าห้อง 1. กล่าวสวัสดีผู้ฟัง ให้ลำดับผู้ฟังที่อาวุโสสูงสุดไว้ข้างหน้าสุด เช่น Madame le professeur, mes chers amis, bonjour. หรือ Monsieur le directeur, monsieur le professeur, mes chers amis, bonjour. 2. บอกโครงสร้างคร่าว ๆ ของ exposé เพื่อลำดับความคิดของคนฟัง Nous avons le plaisir de faire un exposé sur La Culture Thailandaise. พวกเรายินดีที่จะนำเสนอรายงานหน้าห้องเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย Notre exposé se compose de 3 parties. รายงานของเราแบ่งออกเป็น 3 ส่วน La première partie parle de la culture générale en Thailande. ส่วนที่หนึ่งพูดเกี่ยวกับวัฒนธรรมทั่วๆ ไปในประเทศไทย La deuxième traite la présence et l’influence de la culture occidentale dans la culture thailandaise. ส่วนที่สองพูดเกี่ยวกับการปรากฏและอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกที่มีต่อวัฒนธรรมไทย La dernière donnera quelques exemples concrets de la défense de la culture thailandaise. ส่วนสุดท้ายจะให้ตัวอย่างการปกป้องวัฒนธรรมไทยที่เป็นรูปธรรมจำนวนสองสามตัวอย่าง 3. เข้าสู่เนื้อหา Je vais parler maintenant de la culture générale en Thailande …. ดิฉัน (ผม) จะขอเริ่มพูดเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยทั่วไป 4. การส่งให้คนอื่นพูดต่อ Je vais passer la parole à ….. ชื่อเพื่อน .... qui va parler de la présence et l’influence …. ต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของ....ที่จะมาพูดถึง..... 5. กล่าวสรุป Pour conclure/En guise de conclusion, j’aimerais dire que …. เพื่อเป็นการสรุป ดิฉัน (ผม) อยากจะบอกว่า ..... 6. ขอบคุณ Avant de terminer, je tiens à remercier Monsieur ….. (ครู เพื่อน หรือคนที่ช่วยเหลือให้ข้อมูล) qui nous apporte une aide précieuse. ก่อนจบการรายงาน ขอขอบคุณ.....ที่กรุณาช่วยเหลือ 7. จบการรายงาน Merci de votre attention. ขอบคุณที่กรุณาฟัง

Saturday, June 9, 2012

LA FRANCE วัฒนธรรมน่ารู้

La civilisation française (วัฒนธรรมของประเทศฝรั่งเศส) La civilisation française (วัฒนธรรมประเทศฝรั่งเศส) La vie educative (ระบบการศึกษา) La vie éducative • Il faut aller à l'école de 6 a 16 ans. C'est obligatoire. (การศึกษาภาคบังคับให้ไปโรเงเรียนตั้งแต่ 6-16 ปี) • L'année scolaire commence au mois de septembre (ปีการศึกษาเริ่มต้นเดือน กันยายน) • L'école maternelle [3-6 ans] → l'école primaire [6-11 ans] → le collège [sixième - troisième] → le lycée secondaire [ seconde - première - terminale] (ลำดับการศึกษา โรงเรียนอนุบาล [3-6 ปี] → ประถมศึกษา [6-11 ปี] → มัธยมศึกษาตอนต้น → มัธยมศึกษาตอนปลาย) • Aprés avoir fini les études secondaires, on recoit le baccalauréa (หลังจบมัธยมศึกษาตอนปลาย จะได้รับใบปริญญา) • Les vacances scolaires (วันหยุดโรงเรียน): Toussaint du 25 octobre au 3 novembre [en automne] (วันหยุดฤดูใบไม้ร่วง วันที่ 25 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิการยน) Noël du 21 decembre au 5 janvier [en hiver] (วันหยุดฤดูใบไม้ผลิ วันที่ 21 ธันวาคม ถึง 5 มกราคม) Neigé du 2 fevrier au 13 fevrier [en hiver] (วันหยุดฤดูหนาว วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ถึง 13 กุมภาพันธ์) Pâques du 25 mars au 10 avril [au printemps] (วันหยุดฤดูหนาว วันที่ 25 มีนาคม ถึง 10 เมษายน) Eté du 30 juin a août (วันหยุดฤดูร้อน 30 มิถุนายน ถึง สิงหาคม)

Le vocabulaire de la classe:

คำศัพท์ในชั้นเรียน อุปกรณ์การเรียน คำสั่งในชั้นเรียน Le vocabulaire de la classe: Le professeur Les élèves La classe La salle de cours La fenêtre La porte Le bureau La table La chaise Le tableau La craie L’éponge Qu’est ce qu’il y a dans ton cartable ? Le livre, le cahier, le classeur, l’agenda, le stylo, le crayon,les feutres, les crayons de couleur, la gomme, du blanc, larègle, l’équerre, le compas, le rapporteur.