Tuesday, January 31, 2012

มารับรางวัล จากมาดาม





Félicitations ! รายชื่อนักเรียนส่งงานและมาดามรุจิรา แสงกรด ได้ตรวจแล้ว
ผู้ปกครองท่านใดเปิดอ่านจงภูมิใจนะคะ นักเรียนของท่านมีความรับผิดชอบดีมาก
นี่คือรายชื่อของนักเรียน 4/7 5/7 และ 6/7 ที่ส่งงานภาษาฝรั่งเศสทาง Internet
• ชาลิณี
• นันทิชา
• ชุดากาญจน์
• สุชานันท์
• อารียา
• นงคราญ
• ศศิวิมล
• จุฑามาศ
• ปณาลี
• จินดารัตน์
• ณัฐณิชา
• ปภาวดี
• นันทวรรณ
• ยุพารัตน์
• สุรีพร
• สุวนันท์
• อภิญญา
• พงศธร
• รุจิรา

ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 21.30 น
ไม่ได้บอกนามสกุล และห้อง แต่คนที่ส่งงานจะรู้ว่าตนเองส่งงานกี่ชิ้นแล้ว
คนที่ยังไม่มีรายชื่อ แสดงว่า นายแน่มากที่ท้าทายมาดาม
แล้วคุณจะเข้าใจว่า มาดามให้โอกาสคุณแล้ว แต่คุณปฏิเสธสิทธินั้น
ยังมีเวลาอีก 40 วัน สำหรับ 4/7 5/7 และ 30 วัน สำหรับ 6/7

Sunday, January 8, 2012

รู้จักประวัติวันเด็กหรือยังJournée nationale de l’enfant

เชิญศึกษา วันเด็กที่เป็นภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ และไทย




มาอ่านประวัติวันเด็กกันดีกว่า
Journée nationale de l’enfant

Des droits de l'homme aux droits de l'enfant
Le mot enfant nous vient du latin "infans" qui signifie : "celui qui ne parle pas." On voit déjà fidèlement se refléter dans cette origine du mot une conception bien particulière de l'enfant : "soit sage et tais toi !"
Ainsi les pères gaulois, avaient droit de vie et de mort sur les enfants.
Les lois romaines autorisaient les hommes à accepter ou refuser un enfant à sa naissance.

Ce sont les philosophes du XVIIIe siècle qui fondèrent notre réflexion actuelle de l'éducation et l'épanouissement de chacun.

Arrive alors la Révolution Française avec l'abolition des privilèges (nuit du 4 août 1789) et surtout l'adoption, le 26 août de la Déclaration des droits de l'homme et du citoyen.

En ce qui concerne les droits des enfants, la Révolution laisse aussi une trace indélébile. Les relations parents/enfants évolue et la mère y prend toute sa place. En 1793 l'enseignement primaire devient obligatoire et gratuit.
Des reculs auront lieu et il faudra attendre le XIXe siècle pour obtenir de nouvelles conquêtes. Ainsi les soulèvements de 1830 (les trois glorieuses), de 1848 ou de 1871 (la Commune de Paris) participent de ces nouvelles conquêtes. Cette incessante bataille pour le droit au bonheur se poursuit de nos jours.

Les luttes sont quotidiennes. Depuis la discussion serrée qui va régler un conflit entre un jeune et un adulte jusqu'aux actions de tout un peuple pour sortir de la famine : tout bouge !
C'est ainsi qu'une commission voit le jour à l'ONU (Organisation des Nations Unies) en 1978. Elle va plancher sur une déclaration solennelle concernant les droits de l'enfant.
Il faudra attendre 11 ans pour que la convention internationale des droits de l'enfant voit enfin le jour le 20 novembre 1989 !

A ce jour 192 pays ont ratifié cette Convention les obligeant ainsi à mettre leurs lois en conformité avec ce texte. C'est la convention la plus ratifiée de toute l'histoire. Il est intéressant de noter que les États Unis ne l'avaient pas signée car elle interdit la peine de mort pour les mineurs. Les États Unis ont aboli la peine de mort pour les mineurs en janvier 2005 mais, à ce jour, n'ont toujours pas ratifié la convention.
(d'après "Le grand livre des droits de l'enfant" de Alain SERRES - Editions Rue du Monde)




"Children Day" is celebrated on various days in many places around the world, in particular to honor children. Major global variants include a Universal Children's Day on November 20, by United Nations recommendation. Children's Day is often celebrated on other days as well
International Children's Day
The World Conference for the Well-being of Children in Geneva, Switzerland proclaimed June 1 to be International Children's Day in 1925. It is usually marked with speeches on children's rights and wellbeing, children TV programs, parties, various actions involving or dedicated to children, families going out, etc.
Universal Children's Day
Universal Children's Day takes place on November 20 annually. First proclaimed by the United Nations General Assembly in 1954, it was established to encourage all countries to institute a day, firstly to promote mutual exchange and understanding among children and secondly to initiate action to benefit and promote the welfare of the world's children. It was also chosen as the day to celebrate childhood. Universal Children's Day is preceded by International Men's Day on November 19 creating a 48 hour celebration of men and children respectively during which time the positive roles men play in children's lives are recognized.
The holiday was first celebrated worldwide in October 1953, under the sponsorship of International Union for Child Welfare in Geneva. The idea of a Universal Children's Day was adopted by the United Nations General Assembly in 1954.
November 20 is also the anniversary of the day when the United Nations General Assembly adopted the [Declaration of the Rights of the Child] in 1959. The Convention on the Rights of the Child was then signed on the same day in 1989, which has since been ratified by 191 states.
Thailand
Thailand National Children's Day (Thai: วันเด็กแห่งชาติ) is celebrated on the second Saturday in January. Known as “Wan Dek” in Thailand, Children’s Day is celebrated to give children the opportunity to have fun and to create awareness about their significant role towards the development of the country.
Usually, His Majesty the King gives advice addressing the children while the Supreme Monarch Patriarch of Thailand gives a moral teaching. The Prime Minister also usually gives each Children's Day a theme and a slogan.
Many Government offices are open to children and their family; this includes the Government House, the Parliament House Complex and various Military installations. These events may include a guided tour and an exhibition. A notable example is the guided tour at the Government House, where children have an opportunity to view the Prime Minister's office and sit at the bureau. The Royal Thai Air Force usually invites children to go and explore the aircraft and the Bangkok Bank distributes stationery, such as pens, pencils and books to every child that enters the bank as a community service. Many organizations from both government and commercial sectors have celebration activities for children. Children can enter zoos or ride buses for free.

There is a Thai saying that states, "Children are the future of the nation, if the children are intelligent, the country will be prosperous."


วันเด็กแห่งชาติ เป็นวันสำคัญในประเทศไทยตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป (วันจันทร์) มีการให้ คำขวัญวันเด็ก ทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
ประวัติ
งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้
คำขวัญวันเด็ก
คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน



ปี นายกรัฐมนตรี คำขวัญ
พ.ศ. 2499
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
พ.ศ. 2502
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ. 2503
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ. 2504
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ. 2505
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
พ.ศ. 2506
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
พ.ศ. 2507
จอมพลถนอม กิตติขจร
ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ. 2508
จอมพลถนอม กิตติขจร เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ. 2509
จอมพลถนอม กิตติขจร เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ. 2510
จอมพลถนอม กิตติขจร อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ. 2511
จอมพลถนอม กิตติขจร ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ. 2512
จอมพลถนอม กิตติขจร รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ. 2513
จอมพลถนอม กิตติขจร เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ. 2514
จอมพลถนอม กิตติขจร ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ. 2515
จอมพลถนอม กิตติขจร เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ. 2516
จอมพลถนอม กิตติขจร เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ. 2517
สัญญา ธรรมศักดิ์
สามัคคีคือพลัง
พ.ศ. 2518
สัญญา ธรรมศักดิ์ เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
พ.ศ. 2519
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ. 2520
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ. 2521
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
พ.ศ. 2522
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ. 2523
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2524
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ. 2525
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2526
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ. 2527
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ. 2528
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ. 2529
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2530
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2531
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2532
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2533
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2534
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ. 2535
อานันท์ ปันยารชุน
สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ. 2536
ชวน หลีกภัย
ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2537
ชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2538
ชวน หลีกภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2539
บรรหาร ศิลปอาชา
มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ. 2540
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ. 2541
ชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2542
นายชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2543
ชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2544
ชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2545
พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ. 2546
พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ. 2547
พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548
พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549
พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ. 2550
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ. 2551
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ. 2552
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
พ.ศ. 2553
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ. 2554
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ
พ.ศ. 2555
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี

Monday, January 2, 2012

BONNE ANNÉE 2012


สวัสดีปีใหม่ 2555 หรือ BONNE ANNÉE 2012
มาดามได้เพิ่ม website ให้นักเรียนได้เลือกเข้าศึกษาในห้องคอม เพราะว่านักเรียนเข้าศึกษาเพียง websiteเดียว
จะเข้าได้ช้า รอนาน
ดังนั้นนักเรียนสามารถเข้า website ได้ดังนี้

http://madame-salut.blogspot.com/
http://madame-ruchiratk.blogspot.com/
http://ruchiratk.blogspot.com/
http://ruchira-madame.blogspot.com/
http://madameruchirasaengkrod.blogspot.com/
http://www.francais-thammasatklongluang.net/francais/

อ่านมาก ๆ ทำงานมาก ๆ
Au revoir.

สัญญลักษณ์ของฝรั่งเศส



สัญลักษณ์ของฝรั่งเศส (Symboles français)

เพลงชาติ (l’hymne nationale) ลา มาร์เซยแยส ( La Marseillaise)
เป็นเพลงชาติของฝรั่งเศสมาตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 1795 แต่เดิมมีชื่อว่า Chant de guerre pour l’armée du Rhin ซึ่งประพันธ์ขึ้นที่เมืองสตราสบูร์กเมื่อปี 1792 โดย Rouget de Lisle

คำขวัญ (la devise) ของสาธารณรัฐฝรั่งเศสคือ เสรีภาพ เสมอภาค และ ภราดรภาพ
(Liberté, Égalité, Fraternité)

ธงชาติ (le drapeau) แต่เดิมสีน้ำเงินแดงเป็นสัญลักษณ์ของกองกำลังรักษากรุงปารีส
ต่อมาในปี 1789 นายพลลาฟาแยตต์เพิ่มสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์
นับแต่นั้นมาสีน้ำเงินขาวแดงจึงเป็นสีของธงชาติและกลายเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ไก่ตัวผู้ (le coq gaulois) รูปไก่ตัวผู้ปรากฏบนเหรียญกษาปณ์ของชาวโกลัว (les Gaulois)
ที่ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวฝรั่งเศส ในขณะที่ยังเรียกว่า ลา โกล (la Gaule) และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์
เพราะการเล่นคำ โดย Gaulois ออกเสียงเป็นภาษาลาตินว่า “Gallus” ซึ่งแปลว่า “ไก่ตัวผู้”

ลา มารีอานน์ (la Marianne) สัญลักษณ์รูปผู้หญิงครึ่งตัวบนสวมหมวกฟรีเจียน (le bonnet phrygien)
ความเป็นมาไม่เป็นที่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม ชื่อ Marie และ Anne เป็นชื่อที่แพร่หลายมากในศตวรรษที่ 18
ซึ่งอยู่ในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศส Marie-Anne จึงถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนของคณะก่อการปฏิวัติ
ต่อมาได้กลายเป็นอีกหนึ่งชื่อเรียกสาธารณรัฐฝรั่งเศส ปัจจุบันนี้ la Marianne เ ป็นเครื่องหมายประจำที่ทำการเทศบาล
ทุกแห่งในฝรั่งเศส เป็นรูปที่ประดับบนดวงตราไปรษณียากร และ บนเหรียญยูโรของฝรั่งเศส (เหรียญ 1, 2 และ 5 เซนส์)

หมวกฟรีเจียน (le bonnet phrygien) เป็นเครื่องหมายของอิสรภาพ เพราะในสมัยโบราณ
ผู้ที่สวมหมวกนี้เป็นพวกทาสที่เพิ่งได้รับการปลดปล่อย กลุ่มที่ทำการปฏิวัตินิยมสวมหมวกฟรีเจียนสีแดง
ติดเครื่องหมายวงกลมสีน้ำเงิน-ขาวด้านข้าง หมวกนี้จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติไปด้วย

ประวัติวันชาติฝรั่งเศส Le 14 Juillet



วันชาติฝรั่งเศส

ย้อนไปเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 กองทัพทหาร และประชาชนได้พร้อมใจกันบุกคุกบาสติลย์ (Bastilles) เพื่อปลดปล่อย นักโทษ การเมือง ให้เป็นอิสระ อันคุกบาสติลย์นี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของการบีบบังคับและความอยุติธรรม ซึ่งเกิดจากการปกครอง โดยกษัตริย์ ที่ไร้ ทศพิธราชธรรม จึงประกาศวันที่ได้รับการปลดปล่อยนี้ให้เป็น..วันชาติของฝรั่งเศส (La Fête Nationale)
เมื่อหลายร้อยปีก่อน ประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่ง ราชวงศ์บูรบอง (Bourbon)บ้านเมืองอยู่ในระยะของสงครามอังกฤษ เพื่อแย่งชิงอาณานิคม ทำให้การเงินการคลังของประเทศล้มละลาย ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างอัตคัดขาดแคลน แต่ในทางกลับกัน ราชสำนักกลับมีความเป็นอยู่อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ชนชั้นขุนนางได้รับการยกเว้น ภาษี ส่วนประชาชน ที่มีความยากจนอยู่แล้วต้องถูกทางการรีดภาษีอย่างหนัก ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมาก
ในตอนนั้น ชนชั้นกลางมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องจากชนกลุ่มนี้มีการศึกษาดี ร่ำรวย แต่ไม่มี สิทธิในทาง การเมือง การปกครอง เทียบเท่าชนชั้นพระ และชนชั้นขุนนาง จึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเก่า และได้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจเอาไว้ โดยเข้าร่วม การปฏิวัติในอเมริกา ซึ่งมีสาระสำคัญในทางทฤษฎีว่าด้วยสิทธิิ ตามธรรมชาติิของมนุษย์ และสองนักปราชญ์แห่งยุคคือ วอลแตร์ กับ มองเตสกิเออ นำทฤษฎีดังกล่าวมาสอนประชาชน ในขณะเดียวกัน มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์ (Marquis de la Fayett) ซึ่งทำสงคราม ช่วยเหลือ ชาวอาณานิคม ในอเมริกาต่อต้านอังกฤษจนได้ชัยชนะ ก็นำความคิดนี้มาเผยแพร่ จึงทำให้ ประชาชนชาวฝรั่งเศส ดิ้นรนเรียกร้อง ให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพ
ยิ่งขึ้น
เดือน มิถุนายน ค.ศ. 1789 ประชาชนซึ่งมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ได้บุกเข้าปล้นสะดมบ้านของพวกขุนนาง กรุงปารีสมีแต่่ ความวุ่นวาย ชนชั้นกลางได้รวมตัวกันก่อตั้งกองทหารรักษาการณ์แห่งชาติเข้าร่วม กับประชาชนทำลายคุกบาสติลย์ ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการปลดแอกอำนาจการปกครองโดยกษัตริย์ นับเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ยิ่ง และสำคัญของโลก
ผล กระทบของเหตุการณ์ได้แพร่ไปสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป โดยเฉพาะในรัสเซีย กล่าวคือระยะแรกของการปฏิวัติ ประมาณปี ค.ศ. 1791ได้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ กษัตริย์ต้องอยู่ใต้กฎหมาย และรัฐสภา ก็มีเพียงสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติ ชนชั้นกรรมาชีพมีบทบาทในการปกครอง แต่ด้วยความเกรงกลัวว่า การล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ์จะแพร่ขยายไปทั่วยุโรป ทำให้ออสเตรียและปรัสเซียยกทัพรุกฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จ ทางสภานิติบัญญัติจึงยกเลิกระบบ ราชาธิปไตยและประกาศเป็นประเทศสาธารณรัฐ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 และตั้งสภาใหม่ขึ้นมา และในปี 1793 ก็ได้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์และพระนางมารี อังตัวเนต์ด้วย การประหารชีวิตด้วยเครื่องประหาร กิโยตีน แม้ผลการปฏิวัติจะสำเร็จ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีฐานะยากจนเหมือนเดิม รัฐบาลยังมุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์กัน จนมีบุคคลคนหนึ่งแสวงหาอำนาจโดย เป็นเครื่องมือ ให้ประชาชนเลื่อมใส และยึดอำนาจการปกครองมาเป็นของตน บุคคลผู้นี้คือ นโปเลียน โบนาปาร์ต
นโปเลียนได้กลายเป็นวีรบุรุษของชาติเพราะอาศัยความล้มเหลวของรัฐบาลสถาปนาตนเป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองทัพ ออก ไปรบชนะออสเตรเลียในปี ค.ศ.1797 ทั้งยังแพร่ขยายอาณาเขตไปทั่วยุโรป จนปี ค.ศ. 1804 ได้สถาปนาตนเอง ขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียน และพยายาม ที่จะครอบครอง รัซเซียให้ได้ จึงทำสงคราม กับรัสเซีย และเป็นครั้งแรก ที่นโปเลียนแพ้ ทำให้ชนชาติต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเกิดกำลังใจที่จะต่อต้าน เมื่อนโปเลียน ได้ถูกเนรเทศไปยังเกาะอัลบา พระเจ้าหลุยส์ได้กลับมาครองราชย์ใหม่แต่เพียงระยะสั้นๆ ในปี ค.ศ.1815 นโปเลียนหนีกลับมาได้ อีกครั้งและประกาศตนเป็นจักรพรรดิ รวบรวมกำลังทหารเข้าต่อสู้กับ ฝ่ายพันธมิตร ต่างๆ เกิดสงครามวอเตอร์ลูขึ้น แต่ฝรั่งเศสก็รบแพ้ ทำให้ นโปเลียนถูกส่งขังที่เกาะเซนต์เฮเลนา นับเป็นการสิ้นสุดการครอง บัลลังก์เพียง 100 วันของนโปเลียน แล้วเขาก็เสียชีวิตบนเกาะนี้

ในปี ค.ศ. 1821 พระ เจ้าหลุยส์ที่ 18 กลับมาขึ้นครองราชย์อีกครั้ง แต่พระอนุชาคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงพยายาม ฟื้นฟูระบบเก่าขึ้นมาอีก จึงมีการปฏิวัติขึ้นอีก พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปซึ่งดำรงตำแหน่งกษัตริย์อยู่ ได้ถูกเนรเทศออกนอก ประเทศ และต่อมาก็ได้มีการสถาปนา สาธารณรัฐขึ้น เป็นครั้งที่ 2 โดยมีหลุยส์นโปเลียนทำการรัฐประหารตั้งตัวเองขึ้น เป็นจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทำให้ชาติฝรั่งเศสมีความเข้มแข็ง มั่นคงขึ้น สภาพทุกอย่าง ในประเทศดีขึ้น และมีการขยาย อาณานิคมไปยังประเทศต่างๆ
ในปี ค.ศ. 1860 พระเจ้าหลุยส์นโปเลียน สถาปนาจักรพรรดิฝรั่งเศสในเม็กซิโกแต่ไม่สำเร็จ เพราะ ถูกอเมริกา ขัดขวางไว้ และยังต้องทำ สงคราม กับปรัสเซียอีก ฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายแพ้อีกครั้งและต้องเสียดินแดนในแคว้นอัลซาสให้แก่ ปรัสเซีย อีกด้วย ซึ่งทำให้พระองค์ต้องสละราชบัลลังก์
ใน ปี ค.ศ.1875 มีการสถาปนาฝรั่งเศสเป็นครั้งที่ 3 ยุคของนโปเลียนสิ้นสุดลง ทำให้ประเทศฝรั่งเศสอ่อนแอ เป็นอย่างมาก ต้องเสียดินแดน ให้ผู้รุกราน ประจวบกับเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศส ยิ่งบอบช้ำ ขึ้นไปอีก ภายหลัง ได้มี ีการเซ็นสัญญาสงบศึกที่ Vinchy แล้วฝรั่งเศสก็ประกาศตัวเป็นอิสรภาพ โดยความช่วยเหลือ จากฝ่ายพันธมิตรต่างๆ ในเดือนกันยายนปี 1944 นายพลชาลส์เดอโกล์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล ในปี ค.ศ.1946 ซึ่งเป็นยุคของสาธารณรัฐที่ 4
ระหว่างปี ค.ศ. 1946-1958 นายพลเดอโกล์ กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำอีกครั้ง ระหว่างที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมวิกฤติการณ์ใน แอลจีเรีย เขาทำให้ ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีสังคม เปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และพัฒนาฝรั่งเศสดีขึ้นในหลายๆด้าน ทำให้เป็นที่ ยอมรับจากผู้คนที่นิยมในตัวเขา และให้สถาปนาฝรั่งเศส เป็นสาธารณรัฐ เป็นครั้งที่ 5 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958-ปัจจุบัน ต่อมามีการชุมนุม ประท้วง รัฐบาลในกรุงปารีส ทำให้รัฐบาล ต้องยอมรับมติประชาชนที่ว่าด้วยการปฏิรูป กฎหมาย รัฐธรรมนูญนายพลเดอโกล์จึงขอลาออกจากตำแหน่ง
ในวันที่ 10 พ.ค. ปี ค.ศ. 1981 ฝรั่งเศสได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้ง คือประธานาธิบดีฟรังซัวส์ มิตแตร์รองด์ ผู้สมัครจากพรรค สังคมนิยม จึงบริหารงานด้วยระบอบสังคมนิยม และอยู่ในต่ำแหน่ง 14 ปีด้วยกัน จนกระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่ึงทำให้ นายฌาคส์ ชีรัค ผู้สมัครจาก พรรคสังคมนิยมเช่นเดียวกันเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง เข้ารับการเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1995
สำหรับความสัมพันธ์ของไทยและฝรั่งเศสนั้น มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของ สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช แต่ก็ต้องสิ้นสุดลง เพราะ การเมือง การปกครองของฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย .. ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสไม่ราบรื่น เพราะไทยพอใจทำการค้า กับจีน และมลายูมากกว่าประเทศ ทางยุโรป
จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่จุดประสงค์ คือต้องการที่จะให้ไทยเป็นเมืองขึ้น แต่ด้วย พระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้รอดพ้นเหตุการณ์นั้นมาได้

ปัจจุบันประเทศไทย ก็ได้รับวัฒนธรรมต่างๆของฝรั่งเศสเข้ามา ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง.วันชาติฝรั่งเศส

ย้อนไปเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 กองทัพทหาร และประชาชนได้พร้อมใจกันบุกคุกบาสติลย์ (Bastilles) เพื่อปลดปล่อย นักโทษ การเมือง ให้เป็นอิสระ อันคุกบาสติลย์นี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของการบีบบังคับและความอยุติธรรม ซึ่งเกิดจากการปกครอง โดยกษัตริย์ ที่ไร้ ทศพิธราชธรรม จึงประกาศวันที่ได้รับการปลดปล่อยนี้ให้เป็น..วันชาติของฝรั่งเศส (La Fête Nationale)
เมื่อหลายร้อยปีก่อน ประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่ง ราชวงศ์บูรบอง (Bourbon)บ้านเมืองอยู่ในระยะของสงครามอังกฤษ เพื่อแย่งชิงอาณานิคม ทำให้การเงินการคลังของประเทศล้มละลาย ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างอัตคัดขาดแคลน แต่ในทางกลับกัน ราชสำนักกลับมีความเป็นอยู่อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ชนชั้นขุนนางได้รับการยกเว้น ภาษี ส่วนประชาชน ที่มีความยากจนอยู่แล้วต้องถูกทางการรีดภาษีอย่างหนัก ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมาก
ในตอนนั้น ชนชั้นกลางมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องจากชนกลุ่มนี้มีการศึกษาดี ร่ำรวย แต่ไม่มี สิทธิในทาง การเมือง การปกครอง เทียบเท่าชนชั้นพระ และชนชั้นขุนนาง จึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเก่า และได้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจเอาไว้ โดยเข้าร่วม การปฏิวัติในอเมริกา ซึ่งมีสาระสำคัญในทางทฤษฎีว่าด้วยสิทธิิ ตามธรรมชาติิของมนุษย์ และสองนักปราชญ์แห่งยุคคือ วอลแตร์ กับ มองเตสกิเออ นำทฤษฎีดังกล่าวมาสอนประชาชน ในขณะเดียวกัน มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์ (Marquis de la Fayett) ซึ่งทำสงคราม ช่วยเหลือ ชาวอาณานิคม ในอเมริกาต่อต้านอังกฤษจนได้ชัยชนะ ก็นำความคิดนี้มาเผยแพร่ จึงทำให้ ประชาชนชาวฝรั่งเศส ดิ้นรนเรียกร้อง ให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพ
ยิ่งขึ้น
เดือน มิถุนายน ค.ศ. 1789 ประชาชนซึ่งมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ได้บุกเข้าปล้นสะดมบ้านของพวกขุนนาง กรุงปารีสมีแต่่ ความวุ่นวาย ชนชั้นกลางได้รวมตัวกันก่อตั้งกองทหารรักษาการณ์แห่งชาติเข้าร่วม กับประชาชนทำลายคุกบาสติลย์ ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการปลดแอกอำนาจการปกครองโดยกษัตริย์ นับเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ยิ่ง และสำคัญของโลก
ผล กระทบของเหตุการณ์ได้แพร่ไปสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป โดยเฉพาะในรัสเซีย กล่าวคือระยะแรกของการปฏิวัติ ประมาณปี ค.ศ. 1791ได้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ กษัตริย์ต้องอยู่ใต้กฎหมาย และรัฐสภา ก็มีเพียงสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติ ชนชั้นกรรมาชีพมีบทบาทในการปกครอง แต่ด้วยความเกรงกลัวว่า การล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ์จะแพร่ขยายไปทั่วยุโรป ทำให้ออสเตรียและปรัสเซียยกทัพรุกฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จ ทางสภานิติบัญญัติจึงยกเลิกระบบ ราชาธิปไตยและประกาศเป็นประเทศสาธารณรัฐ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 และตั้งสภาใหม่ขึ้นมา และในปี 1793 ก็ได้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์และพระนางมารี อังตัวเนต์ด้วย การประหารชีวิตด้วยเครื่องประหาร กิโยตีน แม้ผลการปฏิวัติจะสำเร็จ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีฐานะยากจนเหมือนเดิม รัฐบาลยังมุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์กัน จนมีบุคคลคนหนึ่งแสวงหาอำนาจโดย เป็นเครื่องมือ ให้ประชาชนเลื่อมใส และยึดอำนาจการปกครองมาเป็นของตน บุคคลผู้นี้คือ นโปเลียน โบนาปาร์ต
นโปเลียนได้กลายเป็นวีรบุรุษของชาติเพราะอาศัยความล้มเหลวของรัฐบาลสถาปนาตนเป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองทัพ ออก ไปรบชนะออสเตรเลียในปี ค.ศ.1797 ทั้งยังแพร่ขยายอาณาเขตไปทั่วยุโรป จนปี ค.ศ. 1804 ได้สถาปนาตนเอง ขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียน และพยายาม ที่จะครอบครอง รัซเซียให้ได้ จึงทำสงคราม กับรัสเซีย และเป็นครั้งแรก ที่นโปเลียนแพ้ ทำให้ชนชาติต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเกิดกำลังใจที่จะต่อต้าน เมื่อนโปเลียน ได้ถูกเนรเทศไปยังเกาะอัลบา พระเจ้าหลุยส์ได้กลับมาครองราชย์ใหม่แต่เพียงระยะสั้นๆ ในปี ค.ศ.1815 นโปเลียนหนีกลับมาได้ อีกครั้งและประกาศตนเป็นจักรพรรดิ รวบรวมกำลังทหารเข้าต่อสู้กับ ฝ่ายพันธมิตร ต่างๆ เกิดสงครามวอเตอร์ลูขึ้น แต่ฝรั่งเศสก็รบแพ้ ทำให้ นโปเลียนถูกส่งขังที่เกาะเซนต์เฮเลนา นับเป็นการสิ้นสุดการครอง บัลลังก์เพียง 100 วันของนโปเลียน แล้วเขาก็เสียชีวิตบนเกาะนี้

ในปี ค.ศ. 1821 พระ เจ้าหลุยส์ที่ 18 กลับมาขึ้นครองราชย์อีกครั้ง แต่พระอนุชาคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงพยายาม ฟื้นฟูระบบเก่าขึ้นมาอีก จึงมีการปฏิวัติขึ้นอีก พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปซึ่งดำรงตำแหน่งกษัตริย์อยู่ ได้ถูกเนรเทศออกนอก ประเทศ และต่อมาก็ได้มีการสถาปนา สาธารณรัฐขึ้น เป็นครั้งที่ 2 โดยมีหลุยส์นโปเลียนทำการรัฐประหารตั้งตัวเองขึ้น เป็นจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทำให้ชาติฝรั่งเศสมีความเข้มแข็ง มั่นคงขึ้น สภาพทุกอย่าง ในประเทศดีขึ้น และมีการขยาย อาณานิคมไปยังประเทศต่างๆ
ในปี ค.ศ. 1860 พระเจ้าหลุยส์นโปเลียน สถาปนาจักรพรรดิฝรั่งเศสในเม็กซิโกแต่ไม่สำเร็จ เพราะ ถูกอเมริกา ขัดขวางไว้ และยังต้องทำ สงคราม กับปรัสเซียอีก ฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายแพ้อีกครั้งและต้องเสียดินแดนในแคว้นอัลซาสให้แก่ ปรัสเซีย อีกด้วย ซึ่งทำให้พระองค์ต้องสละราชบัลลังก์
ใน ปี ค.ศ.1875 มีการสถาปนาฝรั่งเศสเป็นครั้งที่ 3 ยุคของนโปเลียนสิ้นสุดลง ทำให้ประเทศฝรั่งเศสอ่อนแอ เป็นอย่างมาก ต้องเสียดินแดน ให้ผู้รุกราน ประจวบกับเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศส ยิ่งบอบช้ำ ขึ้นไปอีก ภายหลัง ได้มี ีการเซ็นสัญญาสงบศึกที่ Vinchy แล้วฝรั่งเศสก็ประกาศตัวเป็นอิสรภาพ โดยความช่วยเหลือ จากฝ่ายพันธมิตรต่างๆ ในเดือนกันยายนปี 1944 นายพลชาลส์เดอโกล์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล ในปี ค.ศ.1946 ซึ่งเป็นยุคของสาธารณรัฐที่ 4
ระหว่างปี ค.ศ. 1946-1958 นายพลเดอโกล์ กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำอีกครั้ง ระหว่างที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมวิกฤติการณ์ใน แอลจีเรีย เขาทำให้ ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีสังคม เปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และพัฒนาฝรั่งเศสดีขึ้นในหลายๆด้าน ทำให้เป็นที่ ยอมรับจากผู้คนที่นิยมในตัวเขา และให้สถาปนาฝรั่งเศส เป็นสาธารณรัฐ เป็นครั้งที่ 5 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958-ปัจจุบัน ต่อมามีการชุมนุม ประท้วง รัฐบาลในกรุงปารีส ทำให้รัฐบาล ต้องยอมรับมติประชาชนที่ว่าด้วยการปฏิรูป กฎหมาย รัฐธรรมนูญนายพลเดอโกล์จึงขอลาออกจากตำแหน่ง
ในวันที่ 10 พ.ค. ปี ค.ศ. 1981 ฝรั่งเศสได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้ง คือประธานาธิบดีฟรังซัวส์ มิตแตร์รองด์ ผู้สมัครจากพรรค สังคมนิยม จึงบริหารงานด้วยระบอบสังคมนิยม และอยู่ในต่ำแหน่ง 14 ปีด้วยกัน จนกระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่ึงทำให้ นายฌาคส์ ชีรัค ผู้สมัครจาก พรรคสังคมนิยมเช่นเดียวกันเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง เข้ารับการเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1995
สำหรับความสัมพันธ์ของไทยและฝรั่งเศสนั้น มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของ สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช แต่ก็ต้องสิ้นสุดลง เพราะ การเมือง การปกครองของฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย .. ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสไม่ราบรื่น เพราะไทยพอใจทำการค้า กับจีน และมลายูมากกว่าประเทศ ทางยุโรป
จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่จุดประสงค์ คือต้องการที่จะให้ไทยเป็นเมืองขึ้น แต่ด้วย พระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้รอดพ้นเหตุการณ์นั้นมาได้

ปัจจุบันประเทศไทย ก็ได้รับวัฒนธรรมต่างๆของฝรั่งเศสเข้ามา ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง.

สาระน่ารู้เกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศส




สาระทั่วไปเกี่ยวกับฝรั่งเศส
พื้นที่
ฝรั่งเศสมีพื้นที่ 550,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก (ประมาณเกือบหนึ่งในห้าของพื้นที่ของสหภาพยุโรป) อีกทั้งยังมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่กินอาณาบริเวณกว้างขวาง (เขตเศรษฐกิจจำเพาะมีพื้นที่ทั้งสิ้น 11 ล้านตารางกิโลเมตร)
ภูมิประเทศ
พื้นที่ประมาณสองในสามของประเทศฝรั่งเศสเป็นที่ราบ เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาแอล์ปซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในยุโรป คือ ยอดเขามงต์บลองก์ (Mont-Blanc) สูง 4,807 เมตร เทือกเขาปิเรเนส์ เทือกเขาจูรา เทือกเขาอาร์แดนส์ เทือกเขามาสซิฟ ซองทราลและเทือกเขาโวจช์ ประเทศฝรั่งเศสมีชายฝั่งทะเลอยู่ถึง 4 ด้าน คิดเป็นความยาวรวมทั้งสิ้น 5,500 กิโลเมตร (ทะเลเหนือ ช่องแคบอังกฤษ มหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน)
ภูมิอากาศ
มี 3 แบบคือ
• แบบชายฝั่งทะเลตะวันตก (บริเวณตะวันตกของประเทศ)
• แบบเมดิเตอร์เรเนียน (ทางตอนใต้ของประเทศ)
• แบบภาคพื้นทวีป (ทางตอนกลางและภาคตะวันออกของประเทศ)
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
• พื้นที่เกษตรกรรมและทำป่าไม้มีประมาณ 48 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 82 ของพื้นที่โดยรวมทั้งประเทศ (เฉพาะฝรั่งเศสส่วนภาคพื้นทวีป)
• พื้นที่ป่ามีประมาณร้อยละ 30 และนับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรปรองจากสวีเดนและฟินแลนด์ ตั้งแต่ปี 1945 พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 และถ้าพูดถึงในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา นับว่าเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว
• ฝรั่งเศสมีความแตกต่างไปจากประเทศอื่นๆในยุโรปเพราะมีพันธุ์ไม้มากถึง 136 ชนิด ในส่วนของสัตว์ใหญ่ก็เพิ่มจำนวนขึ้น ภายในช่วงระยะเวลา 20 ปี จำนวนของสัตว์ประเภทกวางเพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า
ประเทศฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับมรดกทางธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงได้มีการจัดตั้ง- อุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง- ป่าสงวน 156 แห่ง- เขตรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ป่า 516 แห่ง- รวมทั้งประกาศให้พื้นที่อีก 429 แห่งเป็นเขตอนุรักษ์อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล- นอกจากนี้ยังมีอุทยานธรรมชาติตามภูมิภาคต่างๆ อีกกว่า 37 แห่งซึ่งกินพื้นที่กว่าร้อยละ 7 ของประเทศ
งบประมาณจำนวน 32 พันล้านยูโรได้รับการจัดสรรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อประชากรจะเท่ากับ 516 ยูโร ทั้งนี้ 3 ส่วน 4 ของเงินข้างต้นจะเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและการจัดการของเสียต่างๆ
ในระดับนานาชาติ ฝรั่งเศสเป็นภาคีของสนธิสัญญาและอนุสัญญาทางด้านสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและการแปรสภาพเป็นทะเลทราย
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.environnement.gouv.fr
ประชากร
ประชากรจำนวน 62.2 ล้านคน (ปี 2005) ความหนาแน่นของประชากร 96 คนต่อตารางกิโลเมตร เมืองมีประชากรมากกว่า 100,000 คนมีถึง 57 เมืองเมืองที่มีประชากรมากที่สุดห้าอันดับแรกคือ

ลำดับ เมือง
จำนวนประชากร
1 ปารีส 9.6 ล้านคน
2ลีลล์1.7 ล้านคน
3ลียง1.4 ล้านคน
4มาร์เซยย์1.3 ล้านคน
5ตูลูส1 ล้านคน

การแบ่งส่วนการปกครอง
สาธารณรัฐฝรั่งเศสประกอบด้วย
• ส่วนที่อยู่บนภาคพื้นทวีป (แบ่งเป็น 22 มณฑลและ 96 จังหวัด)
• จังหวัดโพ้นทะเล (DOM) 4 จังหวัดได้แก่ กัวเดอลูป มาร์ตินิก เฟรนช์เกียนาและลา เรอูนียง
• ดินแดนโพ้นทะเล (TOM) 5 แห่งได้แก่ เฟรนช์ โปลิเนเซีย, วาลลิสและฟูตูนา, มายอตต์, แซงต์-ปิแอร์-เอต์-มิเกอล็ง, เฟรนช์ เซาเทิร์นและแอนตาร์กติก แทร์ริทอร์รีส์
• ดินแดนที่มีสถานภาพพิเศษอีก 1 แห่งคือ นิวแคลิโดเนีย
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.outre-mer.gouv.fr
จนกระทั่งถึงวันที่ 1 มกราคม 2005 ประชากรของฝรั่งเศสมีทั้งสิ้น 62 ล้านคนซึ่งคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 13 ของประชากรทั้งหมดของสหภาพยุโรป ในปี 2004 ชายฝรั่งเศสมีอายุเฉลี่ย 76.7 ปี และหญิงมีอายุเฉลี่ย 83.8 ปี ตั้งแต่ปี 2004 เพศชายมีอายุยืนยาวขึ้น 2 ปี และเพศผู้หญิงมีอายุยืนยาวขึ้น 1 ปี

ประชากร
สถิติทางด้านประชากรศาสตร์
จำนวนเด็กที่เกิด 797,400 คนอัตราเจริญพันธุ์เท่ากับ เด็ก 1.91 คนต่อหญิง 1 คนอัตราการเกิด
ร้อยละ 12.8
จำนวนคนตาย 518,000 คนอัตราการตาย ร้อยละ 8,3
จำนวนคู่สมรส 266,300 คู่นับแต่ต้นทศวรรษที่ 90 เป็นต้นมา จำนวนคู่สมรสได้ลดน้อยลง ในขณะที่จำนวนของผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันโดยไม่มีการสมรสกลับเพิ่มจาก 1.5 ล้านคู่เป็น 2.4 ล้านคู่ในปี 1990 จำนวนคู่ที่ใช้ชีวิตร่วมกันโดยไม่ได้สมรสคิดเป็น 1 ใน 6 ของคู่ที่ใช้ชีวิตร่วมกันทั้งหมด (ทั้งที่สมรสและไม่ได้สมรส)
การหย่าร้าง 127,643 คู่

ลักษณะทางครัวเรือน
คู่สามีภรรยาพร้อมบุตรคิดเป็นร้อยละ 32ครัวเรือนที่มีประชากรอยู่คนเดียวคิดเป็นร้อยละ 31.4คู่สามีภรรยาที่ยังไม่มีบุตรคิดเป็นร้อยละ 27.6ครอบครัวที่มีเพียงบิดาหรือมารดาเลี้ยงดูบุตรตามลำพังคิดเป็นร้อยละ 7.1ครัวเรือนที่มิได้จัดอยู่ในประเภทข้างต้นคิดเป็นร้อยละ 1.9

ประชากรตามหมวดอายุ
อายุระหว่าง 20-59 ปีร้อยละ 54.3อายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 25.1อายุ 60 ปีและมากกว่าร้อยละ 20.6อายุเฉลี่ยของประชากร 39.2 ปี
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.insee.fr

ศาสนา
สาธารณรัฐฝรั่งเศสมิใช่รัฐทางศาสนา ประชากรทุกคนสามารถเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้อย่างเสรี

การศึกษา
ในปี 2004 ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเพิ่มสูงขึ้นถึง 111.3 พันล้านยูโร เท่ากับร้อยละ 7.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และร้อยละ 37.8 ของงบประมาณทั้งหมด หากคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อประชากรจะเท่ากับ 1,810 ยูโร หรือ 6,600 ยูโรต่อนักเรียน 1 คน
8 ระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
นักเรียน12,133,000คน
ครูผู้สอน894,000คน
โรงเรียน68,590แห่ง
อัตราส่วนครูต่อนักเรียนเท่ากับ 1/13.6อัตราการสอบผ่านระดับมัธยมศึกษา (ปี 2004) ร้อยละ 79.7
8 ระดับอุดมศึกษา นิสิต นักศึกษา2,268,251คน
อาจารย์88,000คน
มหาวิทยาลัย83แห่ง
สถาบันศึกษาชั้นสูง3,600แห่ง
อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาเท่ากับ 1 /25.7
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.education.gouv.fr
ประชากรในวัยทำงาน
ฝรั่งเศสมีประชากรในวัยทำงานประมาณ 27.5 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นผู้ที่มีงานทำ 24.7 ล้านคนและผู้ที่กำลังอยู่ในระหว่างการหางาน 2.73 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9.9 ของประชากรวัยทำงาน (มกราคม 2004) และร้อยละ 74.9 เป็นประชากรวัยทำงานเพศชาย สำหรับเพศหญิงร้อยละ 63.8

สถานภาพการทำงาน
ร้อยละ 28.8ลูกจ้างจำนวน 7,809,000 คน
ร้อยละ 24.8กรรมกรจำนวน 7,062,000 คน
ร้อยละ 23.3พนักงานระดับกลางจำนวน 5,763,000 คน
ร้อยละ 14.4ผู้บริหารและนักวิชาการจำนวน 3,700,000 คน
ร้อยละ 5.9ช่างฝีมือ พ่อค้า เจ้าของกิจการจำนวน 1,500,000 คน
ร้อยละ 2.8เกษตรกรและคนงานในภาคการเกษตรจำนวน 642,000 คน

มาตรฐานการครองชีพ
รายได้เฉลี่ยสุทธิต่อปีเท่ากับ 21,735 ยูโรเงินออมเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 1,900 ยูโร คิดเป็นร้อยละ 15.4 ของรายได้สุทธิ
ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน
ร้อยละ 24.5ที่อยู่อาศัย ไฟฟ้าและเครื่องทำความร้อน
ร้อยละ 17.7อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ
ร้อยละ 17.6ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและค่าบริการสื่อสาร
ร้อยละ 9.4ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้เวลาว่างและกิจกรรมทางวัฒนธรรม
ร้อยละ 5.9อุปกรณ์เครื่องใช้และค่าทำนุบำรุงที่อยู่อาศัย
ร้อยละ 5เครื่องนุ่งห่ม
ร้อยละ 3.4ค่ารักษาพยาบาลและยา
ร้อยละ 16.5ค่าใช้จ่ายหมวดบริการและเบ็ดเตล็ด (ภัตตาคาร เดินทางท่องเที่ยว …)

รายได้ต่อเดือน
รายได้ขั้นต่ำต่อเดือน (ยังไม่ได้หักภาษี) ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2005 เท่ากับ 1,090.48 ยูโร (ทำงาน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) หรือเท่ากับ 7.19 ยูโรต่อชั่วโมง
รายได้เฉลี่ยต่อปีของครัวเรือน
อาชีพอิสระ70,126 ยูโร
ผู้บริหาร42,928 ยูโร
ช่างเทคนิคและผู้ควบคุมงาน22,143 ยูโร
เกษตรกรและคนงานในภาคการเกษตร21,114 ยูโร
อาชีพอื่นๆที่อยู่ในระดับกลาง20,000 ยูโร
แรงงานที่มีทักษะ15,906 ยูโร
ลูกจ้าง15,327 ยูโร
การลาพักผ่อน
ตามกฎหมาย ชาวฝรั่งเศสสามารถลาพักผ่อนได้ 5 อาทิตย์ต่อปี และร้อยละ 69 ของชาวฝรั่งเศสจะเดินทางท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆ ในระหว่างการลาพัก
สหภาพแรงงาน
ชาวฝรั่งเศสประมาณ 2 ล้านคนเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8 ของประชากรในวัยทำงานและนับเป็นอัตราส่วนที่ต่ำที่สุดในในสหภาพยุโรป
สหภาพแรงงานที่สำคัญๆ ได้แก่ CGT (Confédération générale du travail), CFDT (Confédération démocratique du travail), FO (Force ouvrière), CFTC (Confédération française des travailleurs chrétiens) และ FSU (Fédération syndicale unitaire)
การประกันสังคม
ระบบประกันสังคมของฝรั่งเศส (หรือที่เรียกว่า la Sécurité Sociale) เริ่มขึ้นในปี 1945 โดยอยู่บนหลักการของการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการส่งเงินเข้าสมทบกองทุน (สิทธิประโยชน์ที่ได้รับมาจากเงินที่สมทบเข้ากองทุนในแต่ละเดือนของผู้ทำงาน)
ค่าใช้จ่ายในระบบประกันสังคมคิดเป็นร้อยละ 10.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ทั้งนี้เงินอุดหนุนระบบหลักของกองทุนประกันสังคม ร้อยละ 67 มาจากเงินที่นายจ้างและลูกจ้างจ่ายสมทบและอีกร้อยละ 20 มาจากภาษีอื่นๆ ที่เก็บจากรายได้อันมิได้มาจากการทำงาน เช่น ภาษี Contribution sociale généralisée ที่จัดเก็บเพื่อนำเข้ากองทุนประกันสังคมโดยเฉพาะ ส่วนเงินอุดหนุนจากภาครัฐมีเพียงร้อยละ 13 ของกองทุน สิทธิประโยชน์ต่างๆของระบบประกันสังคมมีทั้งในรูปของเงินบำนาญของผู้เกษียนอายุ (ร้อยละ 49.2) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับสุขภาพ (ร้อยละ 27.2) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับครอบครัว (ร้อยละ 12.8) และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพ เช่น การชดเชยการว่างงาน การอบรมวิชาชีพ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคม (ร้อยละ 8.4)
ด้วยเหตุที่สัดส่วนของผู้เกษียณมีแต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน รวมทั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์และอายุของประชากรที่ยืนยาวมากขึ้น มีผลทำให้การเงินในระบบหลักของกองทุนประกันสังคมต้องติดลบและผลักดันให้มีการปฏิรูประบบการประกันสังคมสำหรับผู้สูงอายุในปี 2003
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.travail.gouv.fr
สุขภาพ
ปัญหาสุขภาพถือเป็นสิ่งที่ชาวฝรั่งเศสให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ชาวฝรั่งเศสใช้จ่ายเงินสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพในปี 2004 เป็นจำนวนเงิน 144 พันล้านยูโร กองทุนของระบบประกันสังคม (la Sécurité Sociale) สนับสนุนด้านการเงินเพียงร้อยละ 75.8 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ดังนั้นส่วนที่แต่ละครัวเรือนและบริษัทประกันภัยต้องรับผิดชอบมีแต่จะเพิ่มขึ้น การปฏิรูปเริ่มปี 2004 ทำให้เกิดความสมดุลย์มากขึ้น
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sante.gouv.fr


ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.insee.fr

สถาบันการเมืองการปกครอง
รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 4 ตุลาคม 1958 ได้ระบุบทบาทหน้าที่ของสถาบันต่างๆของสาธารณรัฐที่ 5 ไว้ ทั้งนี้ได้มีการแก้ไขรายละเอียดบางส่วนของรัฐธรรรมนูญดังกล่าวหลายครั้ง เช่น การให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง (1962) การเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับการรับโทษทางอาญาของรัฐมนตรี (1993) การให้มีการประชุมสภาเพียงสมัยเดียว การขยายขอบข่ายที่จะให้มีการออกเสียงประชามติ (1995) การกำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับสถานภาพของนิวแคลีโดเนีย (1998) การจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและเงินตรา การให้หญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกันสำหรับการอยู่ในวาระเลือกตั้งและการดำรงตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง การยอมรับขอบข่ายอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ (1999) การลดระยะเวลาดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี (2000)


ศาลรัฐธรรมนูญ

ประกอบด้วยตุลาการ 9 คน มีหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งให้ดำเนินไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและดูแลความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.conseil-constitutionnel.fr


ประธานาธิบดี

ประธานาธิบดีซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขของสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้มาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรง โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตามประชามติเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2000)

นายนิโกลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเป็นวาระแรกเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 นับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสาธารณรัฐที่ 5 ของประเทศฝรั่งเศส


ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายชื่อ (มาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญ)

ประธานาธิบดีเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี ประกาศใช้กฎหมาย เป็นผู้นำของทุกเหล่าทัพและสามารถประกาศยุบสภา ในกรณีเกิดวิกฤตการณ์ร้ายแรงสามารถใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 16

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.elysee.fr


นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล

ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายของประเทศและเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายดังกล่าว นายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา (มาตรา 20)

นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแลกิจการต่างๆของรัฐบาลและดูแลการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ (มาตรา 21)


นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายฟรองซัวส์ ฟียง ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2550

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.premier-ministre.gouv.fr


รัฐสภา

ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
- วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยอ้อม สมาชิกวุฒิสภามีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี (เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2003 ในอดีตวาระยาวถึง 9 ปี) โดยมีการเลือกตั้งหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดใหม่ทุก 3 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2004
- สภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2002

นอกเหนือจากการควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาลแล้ว สภาทั้งสองยังมีหน้าที่พิจารณาร่างและลงมติกฎหมายต่าง ๆ ในกรณีที่ทั้งสองสภามีความเห็นแย้งกัน ให้ยืนตามมติของสภาผู้แทนราษฎร


วุฒิสภา

การเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2004 สมาชิกทั้งหมด 331 คนมาจากกลุ่มการเมืองต่างๆ ดังนี้
กลุ่ม Union pour un Mouvement Populaire 155คน
กลุ่มสังคมนิยม 97 คน
กลุ่ม Union centriste 33 คน
กลุ่ม communiste, républicain et citoyen 23 คน
กลุ่ม Rassemblement démocratique et social européen 16 คน
ไม่สังกัดกลุ่ม7คน

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.senat.fr

สภาผู้แทนราษฎร

การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 9 และ 16 มิถุนายน 2002 ผู้แทนราษฎรทั้งหมด 577 คนมาจากกลุ่มการเมืองต่างๆดังนี้
กลุ่ม Union pour un Mouvement Populaire 354 คน (รวมผู้ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันอีก 10 คน)
กลุ่มสังคมนิยม 142 คน (รวมผู้ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันอีก 8 คน)
กลุ่ม Union pour la Démocratie Française 27 คน (รวมผู้ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันอีก 3 คน)
กลุ่ม députés communistes et républicains 22 คน
ไม่สังกัดกลุ่มการเมืองใดๆ 11 คน

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.assemblee-nationale.fr


ฝ่ายตุลาการ

โครงสร้างขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมของประเทศฝรั่งเศสซึ่งถือเป็นผู้ปกปักษ์รักษาเสรีภาพส่วนบุคคล (มาตรา 66 แห่งรัฐธรรมนูญ) แบ่งออกเป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างประชาชนด้วยกันเองและศาลปกครองที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างประชาชนและอำนาจรัฐ

ในส่วนของศาลยุติธรรม ยังแบ่งความรับผิดชอบเขตอำนาจศาลออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
เขตอำนาจศาลที่พิจารณาคดีทางแพ่งซึ่งจะครอบคลุมคดีความเกี่ยวกับกฎหมายทั่วๆไป อยู่ในความรับผิดชอบของศาลจังหวัด (Tribunal de Grande Instance) หรือศาลชำนัญพิเศษซึ่งประกอบด้วยศาลแขวง (Tribunal d’Instance) ศาลพาณิชย์ (Tribunal de Commerce) ศาลพิจารณาคดีความเกี่ยวกับการประกันสังคม (Tribunal des affaires de sécurité) และศาลแรงงานที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Conseil des prud’hommes qui règle les litiges entre salariés et emplyeurs)

เขตอำนาจศาลที่พิจารณาคดีอาญา แบ่งความรับผิดชอบของศาลตามลักษณะความผิด 3 ประเภทดังนี้- ความผิดที่มีโทษเปรียบเทียบปรับ เป็นหน้าที่ของศาลแขวง (Tribunal de Police) - ความผิดทางอาญาที่มีโทษเบาเป็นหน้าที่ของศาลอาญา (Tribunal correctionnel) - ความผิดทางอาญาประเภทร้ายแรงอยู่ในความดูแลของศาลอาญา (Cour d’assises) ศาลอาญาประเภทนี้ใช้ระบบลูกขุนและคำพิพากษาถือเป็นที่สุด ไม่สามารถอุทธรณ์ได้

นอกจากนี้ ยังมีศาลคดีเด็กและเยาวชน (Tribunal pour Enfants) ซึ่งถือเป็นเขตอำนาจศาลที่แตกต่างจากที่กล่าวมาเนื่องจากจะรับพิจารณาเฉพาะคดีแพ่งและอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน

ศาลฎีกา (Tribunal de Cassation) เป็นกระบวนการยุติธรรมชั้นสูงสุด รับผิดชอบการพิจารณาตรวจสอบข้อกฎหมายของอรรถคดีที่ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์

สำหรับคดีความระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชน เขตอำนาจศาลสูงสุดคือศาลปกครอง (Conseil d’Etat) ซึ่งจะพิจารณาพิพากษาความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางการปกครองและกฎระเบียบต่างๆ ที่ออกโดยฝ่ายปกครอง คำพิพากษาของศาลปกครองถือเป็นที่สุด นอกจากนี้ศาลปกครองยังเป็นผู้พิจารณาร่างกฎหมายหรือกฎษฎีกาบางฉบับที่รัฐบาลส่งเรื่องมาเพื่อขอทราบความเห็น

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.justice.gouv.fr และ www.conseil-etat.fr


เพลงชาติและคำขวัญ

ลา มาร์เซยแยส (La Marseillaise) เป็นเพลงชาติของฝรั่งเศสมาตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 1795 แต่เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า Chant de guerre pour l’armée du Rhin ซึ่งประพันธ์ขึ้นที่เมืองสตราสบูรก์เมื่อปี 1792

La Marseillaise
Allons, enfants de la Patrie, Le jour de gloire est arrive, Contre nous de la tyrannie L'etendard sanglant est leve, L'etendard sanglant est leve.
Entendez-vous, dans le campagnes, Mugir ces feroces soldats? Ils viennent jusque dans nos bras, Egorger nos fils, nos compagnes.
Aux armes, citoyens! Formez vos bataillons! Marchons! Marchons! Qu'un sang impur abreuve nos sillons
เชิญฟังเพลงชาติฝรั่งเศส
www.marseillaise.org/english/audio.html
คำขวัญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสคือเสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ


ธงชาติของฝรั่งเศส

แต่เดิมสีน้ำเงินแดงเป็นสัญลักษณ์ของกองกำลังรักษากรุงปารีส ต่อมาในปี 1789 นายพลลาฟาแยตต์เพิ่มสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ นับแต่นั้นมาสีน้ำเงินขาวแดงจึงเป็นสีของธงชาติและกลายเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส



การป้องกันประเทศ

ในปีค.ศ. 2005 งบประมาณป้องกันประเทศมีจำนวน 32,92 พันล้านยูโร คิดเป็นร้อยละ 1.94 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและร้อยละ 11.41 ของงบประมาณโดยรวม

ตามความประสงค์ของอดีตประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัคและคณะรัฐบาลที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการป้องกันประเทศให้เหมาะสมกับความจำเป็น บัญญัติเกี่ยวกับโครงการทางการทหารช่วงปีค.ศ. 2003-2008 เป็นตัวกำหนดงบประมาณและจำนวนบุคลากรสังกัดเหล่าทัพ และมีมาตราการต่างๆ เพื่อการปรับปรุงการป้องกันประเทศให้เหมาะสมกับปัญหาปัจจุบันดังต่อไปนี้
เสริมสร้างการปราบปรามการก่อการร้ายให้แข็งแกร่ง
ส่งเสริมนโยบายการต่อต้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์
ร่วมในการป้องกันและแก้ไขวิกฤต (นายทหารจำนวน 15-20,000 นายร่วมในแผนการดำเนินการ)
ยืนยันพันธกรณีของฝรั่งเศสในการเข้าร่วมกองกำลังทหารร่วมของยุโรปและนาโต้
ในปี 2005 บุคลากรสังกัดเหล่าทัพต่างๆ ของฝรั่งเศสทั้งทหารและพลเรือนมีจำนวนทั้งสิ้น 436,910 คนและขึ้นอยู่กับกองทัพต่างๆ ดังนี้
กองทัพบก 162,521 คน
กองทัพอากาศ 68,610 คน
กองทัพเรือ 53,460 คน
ตำรวจสังกัดกระทรวงกลาโหม 100,721 คน
48,598 คนกระจายอยู่ในหน่วยสนับสนุน (อาทิเช่น หน่วยงานด้านสุขภาพ หน่วยงานบรรเทาทุกข์ ฯลฯ)

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.defense.gouv.fr

BIEN VENUE !



ยินดีต้อนรับสู่ บทความที่มีประโยชน์ต่อการเรียนภาษาฝรั่งเศส
อาจารย์ที่ดูแลห้องคอม แนะนำให้ครูเพิ่ม website เพื่อให้นักเรียนเข้าศึกษาได้เร็วขึ้น
มาดามจึงปรับปรุงwebsite เพิ่มดังนี้


http://madame-salut.blogspot.com/

http://madame-ruchiratk.blogspot.com/
http://ruchiratk.blogspot.com/
http://ruchira-madame.blogspot.com/